หลักการและเหตุผล
การให้การปรึกษาเป็นกระบวนการให้การช่วยเหลือผู้ทุกข์หรือผู้ที่มีปัญหาที่มีสาเหตุหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับทุกมิติทางสุขภาพ ทั้งมิติทางสุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพทางสังคมและมิติทางสุขภาพด้าน จิตวิญญาณ พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพอื่นที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันปัญหาทางสุขภาพและให้การดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหาทางสุขภาพ โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพทางกายและสุขภาพทางใจซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างมาก ดังคำกล่าวที่ว่า จิตที่แจ่มใส ย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง (sound mind in sound body) และ ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว กล่าวคือแม้ว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาสุภาพกายและสุขภาพใจ หากมีพื้นฐานสุขภาพจิตที่ดี มีสังคมสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมรวมทั้งมีสุขภาพทางจิตวิญญาณที่ดีแล้ว ก็จะสามารถปรับตัวได้กับสภาพปัญหาทางสุขภาพกายสุขภาพใจหรือความทุกข์ของตนเองที่กำลังเผชิญได้ดี โดยทั่วไปเมื่อบุคคลมีความทุกข์แล้วจะพยายามรับมือหรือจัดการกับความทุกข์ของตนด้วยตนเองก่อน แต่หากบุคคลมีพื้นฐานทางสุขภาพในแต่ละมิติโดยเฉพาะสุขภาพจิตดีหรือไม่แข็งแรงพอ รวมทั้งปัญหาหรือความทุกข์ที่เผชิญนั้นมีมากหรือหนักเกินศักยภาพของตนก็จะจัดการได้ไม่ดีหรือจัดการไม่ได้ บุคคลจึงต้องแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้อื่นที่สามารถให้การปรึกษาหรือให้การช่วยเหลือให้สามารถบรรเทาหรือจัดการความทุกข์ดังกล่าวได้ บุคคลที่จะให้การช่วยเหลือผู้ทุกข์ดังกล่าวหรือผู้ให้การปรึกษาจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะในการให้การช่วยเหลือที่ดี รวมทั้งต้องมีคุณลักษณะของการเป็นผู้ให้การปรึกษาที่เหมาะสมด้วย
ศูนย์บริการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกลุ่มวิชาการพยาบาลจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพของผู้ให้การปรึกษา เพื่อการให้การช่วยเหลือผู้ทุกข์ดังกล่าว จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "Smart Health Counseling: ศาสตร์และศิลป์การให้การปรึกษาทางสุขภาพในโลกยุคใหม่ วันพุธที่ 10 – วันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2568 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะสำหรับการให้การปรึกษาทางสุขภาพ รวมทั้งสร้างความตระหนักและเห็นความสำคัญของการให้การปรึกษาทางสุขภาพ เพื่อการให้การช่วยเหลือผู้มีปัญหาทางสุขภาพซึ่งเป็นผู้ทุกข์ที่ไม่เฉพาะผู้มีปัญหาทางกายหรือป่วยด้วยโรคทางกายเท่านั้น แต่ผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น มีความเครียด ความวิตกกังวลหรือมีภาวะซึมเศร้าจากปัญหาทางสุขภาพกาย ต้องได้รับการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันปัญหาทางสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช ก็มีความสำคัญอย่างมาก การให้การปรึกษาทางสุขภาพจะเป็นแนวคิดและแนวทางให้การช่วยเหลือผู้ทุกข์ดังกล่าวได้อย่างดี
ระหว่างวันที่ 10 - 12 กันยายน 2568 อบรมทาง Online ผ่าน Application Zoom
เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2568
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ
ค่าลงทะเบียน
เอกสารประกอบการสมัคร
โปรดส่งเอกสารประกอบการสมัครพร้อมกับชำระค่าลงทะเบียนตามวันเวลาที่กำหนด โดยชำระค่าลงทะเบียนผ่านบัญชีออมทรัพย์ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ชื่อบัญชี “ศูนย์บริการพยาบาล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” เลขที่บัญชี 566–4–12445-8
ช่องทางการส่งเอกสารประกอบการสมัคร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ : 053-936074, 053-949151, 081-9925828 โทรสาร : 053-212629 Email : nsccmunews@gmail.com Facebook : www.facebook.com/nsccmu
ไฟล์แนบ : | แผ่นพับประชาสัมพันธ์และใบสมัคร |
โปสเตอร์การประชุม | |
หนังสือเชิญ |