หลักการและเหตุผล
โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular Disease or Stroke) เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อยและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ จากรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 ในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และเป็นสาเหตุ การเสียชีวิตเป็นอันดับ 5 ในประชาชนที่อายุ 15-59 ปี มีผู้ป่วยด้วยโรค หลอดเลือดสมองมากกว่า 15 ล้านคนต่อปี และในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วย โรคหลอดเลือดสมองทั่วโลกประมาณ 6.5 ล้านคน เกิดภาวะทุพพลภาพ จากโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 113 ล้านคน ในประเทศไทย พบว่า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการตายและภาวะทุพพลภาพ ก่อให้เกิดความสูญเสียอันเนื่องมาจากการตายก่อนวัยอันควรสูงเป็นอันดับ 1 ในเพศหญิงและสูงเป็นอันดับ 2 ในเพศชาย จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราตายด้วย โรคหลอดเลือดสมองต่อประชากรแสนคน ในภาพรวม ปี พ.ศ. 2557 – 2559 เท่ากับ 38.63, 43.28 และ 43.54 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า อัตราตายด้วย โรคหลอดเลือดสมองนั้นเพิ่มขึ้นทุกปี ในกลุ่มผู้ป่วยที่รอดชีวิตมักมีความพิการหลงเหลืออยู่ โดยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รอดชีวิต มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่สามารถกลับไปดำรงชีวิตใกล้เคียงกับคนปกติ ร้อยละ 80 จะพบว่า มีความพิการสูงถึงร้อยละ 60 ทำให้เป็นภาระของครอบครัว สังคม ประเทศชาติ
การจัดการหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง บุคลากรพยาบาลที่รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองถือเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญและมีจำนวนมากที่สุดในระบบบริการสุขภาพ จึงมี ความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถเฉพาะทางเพิ่มเติมให้เป็นปัจจุบันอย่างเป็นระยะอย่างต่อเนื่องให้ทันต่อความก้าวหน้าด้านการประเมิน การช่วยเหลือ การตรวจรักษา การดูแลและการพยาบาลเฉพาะ เพื่อจะสามารถจัดการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดหลักสูตร การพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพความชำนาญเฉพาะทางในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้กับพยาบาลวิชาชีพ ให้เป็นผู้ที่มีความสามารถในการจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยการนำหลักฐาน เชิงประจักษ์มาประยุกต์ ใช้เพื่อป้องกันการเกิด การเกิดซ้ำ การรักษาพยาบาลระยะเฉียบพลัน การฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสม และการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยได้กลับไปใช้ชีวิตในครอบครัวและชุมชนได้อย่างเต็มศักยภาพ
ระหว่างวันที่ 4 มิถุนายน - 21 กันยายน 2568 ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ขยายเวลารับสมัครไปจนถึงวันที่ 2 พฤษภาคม 2568
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้พยาบาลมีความรู้ ความสามารถ ดังต่อไปนี้
กำหนดการรับสมัคร (รอบ 2)
ค่าลงทะเบียน
เอกสารประกอบการสมัคร
โปรดส่งเอกสารประกอบการสมัครพร้อมกับชำระค่าสมัคร 500 บาท ตามวันเวลาที่กำหนด โดยชำระค่าสมัครผ่านบัญชีออมทรัพย์ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ชื่อบัญชี “ศูนย์บริการพยาบาล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” เลขที่บัญชี 566–4–12445-8
หมายเหตุ : ทั้งนี้การสมัครจะสมบูรณ์ เมื่อท่านแนบเอกสารหนังสืออนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากผู้บังคับบัญชาเรียบร้อยแล้ว สามารถส่งเอกสารเพิ่มเติมมาได้ทาง E-mail nsccmunews@gmail.com
ช่องทางการส่งเอกสารประกอบการสมัคร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทรศัพท์ : 053-936074, 053-949151, 081-9925828 โทรสาร : 053-212629 Email : nsccmunews@gmail.com Facebook : www.facebook.com/nsccmu
ไฟล์แนบ : | แผ่นพับประชาสัมพันธ์และใบสมัคร |
หนังสืออนุมัติลาศึกษาจากผู้บังคับบัญชา | |
หนังสือเชิญ |