เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต (ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ) รุ่นที่ 20 และรุ่นที่ 21


หลักการและเหตุผล

     การเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกๆด้านอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชากรทั่วโลก ประเทศไทยเราก็หลีกเลี่ยงไม่พ้น ไม่ว่าจะเป็นการเกิดเจ็บป่วย การระบาดของโรคติดต่อหรือการเกิดภยันตรายรุนแรงก็ตาม ล้วนแล้วแต่ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งต้องเข้าสู่ระยะของการเจ็บป่วยวิกฤต โดยเฉพาะโลกยุคปัจจุบันมีจำนวนประชากรสูงอายุเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้สูงอายุเหล่านี้ส่วนใหญ่มักมี โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหัวใจล้มเหลว จะยิ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อ การล้มเหลวของอวัยวะได้ง่ายขึ้น  

     การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต (critical care nursing) มีเป้าหมายสูงสุดคือการช่วยชีวิต (save life) ด้วยการเฝ้าระวังและส่งเสริมการทำงานของอวัยวะร่างกายให้กลับสู่สมดุลอย่างเร็วที่สุด การรอดชีวิตของผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพจะต้องสามารถป้องกันการสูญเสียการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ (prevent organ dysfunctions) ได้ด้วย การดูแลจึงต้องมีการประเมิน ติดตามการตอบสนองของผู้ป่วยต่อการรักษาอย่างใกล้ชิด รวดเร็ว ถูกต้องอย่างต่อเนื่องโดยการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยีขั้นสูงทางการแพทย์ในการเฝ้าระวัง (bedside monitoring) มีการตัดสินทางคลินิกที่ต้องการการบูรณาการเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ร่วมกับประสบการณ์การปฏิบัติ มีการผสมผสานการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงร่วมกับการดูแลที่เอื้ออาทรในความเป็นบุคคลของผู้ป่วย  การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต เป็นสาขาการพยาบาลเฉพาะทางที่กำเนิดมาพร้อมๆกับสาขาเวชบำบัดวิกฤต (critical care medicine) ของแพทย์มานานกว่า 50 ปี เนื่องจากศาสตร์หรือองค์ความรู้ด้านการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตมีทั้งความลุ่มลึกและซับซ้อน ต้องบูรณาการความเป็นองค์รวมในการดูแลผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงที่คุกคามความปลอดภัยของชีวิต ดังนั้นความรู้และความเชี่ยวชาญในการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตจึงไม่สามารถบรรจุไว้ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่จัดการศึกษาพยาบาลทั่วไปได้ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในผู้ป่วยวิกฤตจึงต้องพัฒนาความรู้และทักษะเฉพาะทางเพิ่มเติมภายหลังการสำเร็จหลักสูตรขั้นพื้นฐานทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต (ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ) มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545 โดยมีจำนวนผู้เข้ารับการอบรม 19 รุ่นแล้ว ในการจัดอบรมครั้งนี้ถือเป็นรุ่นที่ 20 และ 21 โดยหลักสูตรปัจจุบัน มีจำนวนหน่วยกิต 18 หน่วยกิต และใช้เวลาอบรม 19 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพพยาบาลให้มีประสิทธิภาพต่อไป

รุ่นที่ 20 : ระหว่างวันที่ 12 กุมภาพันธ์ - 23 มิถุนายน 2567

การอบรม Online ผ่านระบบ Zoom และการอบรม Onsite ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

รุ่นที่ 21 : ระหว่างวันที่ 12 กุมภาพันธ์ - 14 เมษายน 2567 และวันที่ 17 มิถุนายน - 25 สิงหาคม 2567 

การอบรม Online ผ่านระบบ Zoom และการอบรม Onsite ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงพยาบาลนครพิงค์ จเชียงใหม่

เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2566

วัตถุประสงค์ 

     เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพ นโยบายระบบการบริการสุขภาพผู้ป่วยวิกฤต แนวคิดและหลักการพยาบาลในการเจ็บป่วยวิกฤตที่พบบ่อย การป้องกันภาวะแทรกซ้อนและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยวิกฤต มีความรู้เรื่องยาและเทคโนโลยีขั้นสูงที่ใช้ในการเจ็บป่วยวิกฤต ตลอดจนการช่วยชีวิตขั้นสูง มีทักษะในการประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและการตัดสินทางคลินิกในผู้ป่วยวิกฤต สามารถวิเคราะห์พยาธิสรีรวิทยา ภาวะแทรกซ้อนของการเจ็บป่วยวิกฤต มีทักษะในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม อายุรกรรมและผู้ป่วยวิกฤตเฉพาะโรค ตลอดจนมีการจัดการข้อมูลทางคลินิกและผลลัพธ์ทางการพยาบาลในผู้ป่วยวิกฤตได้

กำหนดการรับสมัคร

  • ปิดรับสมัคร วันที่ 15 ธันวาคม 2566
  • ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ วันที่ 19 ธันวาคม 2566
  • สอบสัมภาษณ์ วันที่ 25 - 27 ธันวาคม 2566 (ทาง Zoom Meeting)
  • ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก วันที่ 29 ธันวาคม 2566
  • รายงานตัว ทางโทรศัพท์ เบอร์ 053-936074 ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2566 - 12 มกราคม 2567
  • ชำระค่าลงทะเบียน 65,000 บาท ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2566 - 19 มกราคม 2567

ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าอบรมทุกคนต้องนำประวัติการรับวัคซีนหรือผลการตรวจ Antibody ต่อเชื้อ ดังต่อไปนี้มาแสดงในวันเปิดอบรม

  • ไข้หวัดใหญ่ ,บาดทะยัก คอตีบ ไอกรน ,หัด คางทูม หัดเยอรมัน
  • โรคสุกใส ,ไวรัสตับอักเสบ บี ,ไวรัสตับอักเสบ ซี และผลการอ่านภาพเอกซเรย์ทรวงอก ไม่เกิน 1 ปี

ค่าลงทะเบียน

  • ค่าลงทะเบียน คนละ 65,000 บาท (หกหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

ผู้ผ่านการอบรมจะได้รับ

  1. หน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องสาขาการพยาบาลศาสตร์ (CNEU) จำนวน 50 หน่วยคะแนน
  2. ประกาศนียบัตรหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต (ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ)
  3. บัตรแสดงการผ่านการอบรมหลักสูตรการช่วยชีวิตขั้นสูง (ACLS provider) จากคณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย
  4. ประสบการณ์การจัดการฐานข้อมูลผลลัพธ์ผู้ป่วยวิกฤต การสืบค้นข้อมูลสุขภาพจากฐานข้อมูล (Electronic Data Base) การเป็นผู้นำในการทำ Journal club
  5. หนังสือคู่มือการช่วยชีวิตขั้นสูง
  6. หนังสือประกอบการอบรมการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต
  7. รับฟังบรรยายพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Meet the Expert)

เอกสารประกอบการสมัคร

  1. ใบสมัครลงทะเบียนและสำเนาหลักฐานการโอนเงิน ค่าสมัครจำนวน 500 บาท
  2. สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์
  3. หนังสืออนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากผู้บังคับบัญชา

โปรดส่งเอกสารประกอบการสมัครพร้อมกับชำระค่าสมัคร 500 บาท ตามวันเวลาที่กำหนด โดยชำระค่าลงทะเบียนผ่านบัญชีออมทรัพย์ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ชื่อบัญชี “ศูนย์บริการพยาบาล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” เลขที่บัญชี 566–4–12445-8

หมายเหตุ : ทั้งนี้การสมัครจะสมบูรณ์ เมื่อท่านแนบเอกสารหนังสืออนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากผู้บังคับบัญชาเรียบร้อยแล้ว สามารถส่งเอกสารเพิ่มเติมมาได้ทาง E-mail nsccmunews@gmail.com

ช่องทางการส่งเอกสารประกอบการสมัคร

  1. สมัครออนไลน์ที่ www.cmu.to/nsc
  2. ทาง E-mail nsccmunews@gmail.com
  3. ทาง Line ID : NSCCMUลงทะเบียน/เบอร์ 081-9925828
  4. ทางไปรษณีย์ ถึง ศูนย์บริการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 110/406 ถนนอินทวโรรส ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
  5. ทางโทรสาร หมายเลข 053-212629

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โทรศัพท์ : 053-936074, 053-949151, 081-9925828 โทรสาร : 053-212629 Email : nsccmunews@gmail.com Facebook : www.facebook.com/nsccmu

**กรุณากรอก หอผู้ป่วยที่ท่านสังกัดลงในช่อง (หมายเหตุ) สำหรับการสมัคร Online**


ไฟล์แนบ : แผ่นพับประชาสัมพันธ์และใบสมัคร รุ่นที่ 20
หนังสืออนุมัติลาศึกษาจากผู้บังคับบัญชา
หนังสือเชิญรุ่นที่ 20-21
แผ่นพับประชาสัมพันธ์และใบสมัคร รุ่นที่ 21

- ปิดรับสมัคร -